วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552
Cordacan
Cordata extract พลูคาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Houttuynia cordata Thunb
วงศ์ : Saururaceae
ชื่อท้องถิ่น : ผักคาวตอง (เชียงใหม่), ผักก้านตอง, ผักเข้าตอง, พลูแก, พลูคาว(กลาง), ผักคาวทอง (อุดรธานี-อีสาน), อื้อซิงเฉ่า (จีนกลาง), หื่อแชเช่า (จีนแต้จิ๋ว)
ข้อมูลทั่วไปของพลูคาว
พลูคาว มักขึ้นเองตามธรรมชาติ พบตามริมห้วย ลำธาร และที่ชื้นแฉะริมน้ำ หรือตามใต้ต้นไม่ใหญ่ที่มีความชื้นสูง มีมากทางภาคเหนือของประเทศไทย
เป็น พืชล้มลุกตระกูลเดียวกันกับพลู ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นรูปหัวใจ แต่มีลักษณะแตกต่างกันที่ใต้ใบจะมีสีแดงตั้งแต่อ่อนๆ ไปจนถึงแดงเข้ม เมื่อนำมาใส่มือขยี้เพียงเบาๆ จะได้กลิ่นฉุนคล้ายคาวปลาออกมาอย่างรุนแรง ชาวบ้านภาคเหนือและภาคอีสานนิยมรับประทานพลูคาวเป็นผักสด โดยแกล้มกับน้ำพริก ลาบหมู ลาบเนื้อ ก้อย ช่วยดับกลิ่นคาว
สรรพคุณทางเภสัชวิทยาของพลูคาว
สร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวและช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น
ทำลายเซลล์มะเร็ง เพาะเลี้ยงทั่วไป 5 ชนิด : ปอด, สมอง, เนื้อร้าย, รังไข่, และลำไส้ใหญ่ เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว 5 ชนิด li210, u937, k526, raja, p3, hr 1
ฆ่าเชื้อไวรัส ชนิด HIV-1, HIV1 ไข้หวัดใหญ่, งูสวัด, หัดเยอรมัน, โดยไม่ทำลาย Host Cell
ต้านเชื้อรา : กลาก, เกลื้อน, สังคัง, ฮ่องกงฟุต, สะเก็ดเงิน-ทอง, เยื้อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อรา, ปอดอักเสบ
ต้านแบคทีเรีย : โรคท้องร่วง, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, ฝี, โรคระบาดทางระบบสืบพันธุ์, ตกขาว
ต้านอักเสบ : หลอดลมอักเสบ, ปอดอักเสบในเด็ก, รูมาตอย, แผลหลังการผ่าตัด, แผลไฟไหม้, น้ำร้อนลวก, หนองใน, ปวดฟัน
ขับปัสสาวะ : พบสารฟลาโวนอยด์ เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์
ประโยชน์ของพลูคาว
ฤทธิ์ระงับปวด เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ห้ามเลือด
ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบสารฟลาโวนอยด์ ที่แยกได้จากใบพลูคาวเป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์
ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนเหนือดินของพลูคาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างแรงต่อเชื้อ Bacillus cereus และ B. Subtilis เชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae 0-1 และ V. Parahaemolyticus
ฤทธิ์ต้านไวรัส
สารสกัดจากพลูคาว (Houttuynia cordata extract)
ปริมาณของสารสำคัญ 300 mg %
เข้มข้นกว่าไวน์พลูคาว 10 เท่า
ปราศจากแอลกอฮอล์
ปราศจากน้ำตาล
สามารถรับประทานได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์คอร์ดาแคน
สารสกัดจากพลูคาว 400 มิลลิกรัม
(Houttuynia cordata extract)
เบต้า กลูแคน 100 มิลลิกรัม
(Beta Glucan)
Beta glucan
เบต้า-กลูแคน เป็นโพลีแซคคาไรด์ (น้ำตาล) ชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้ในผนังเซลล์ของยีสต์ สาหร่าย และเห็ด
เบต้า-กลูแคน มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวที่นำมาเพาะเลี้ยง ทำให้ได้เบต้า-กลูแคนที่มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน
กลไกการลำเลียงเบต้า-กลูแคนเข้าสู่ร่างกาย
Microfold เป็นส่วนหนึ่งของเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวแปลงไปทำหน้าที่พิเศษที่เรียกว่า M-cell ที่อยู่ภายใน Peyer's patches ของต่อมน้ำเหลืองตาม ทางเดินอาหาร เบต้า-กลูแคนถูกนำเข้าสู่ M-cell M-cell ก็จะส่งต่อเบต้ากลูแคน ให้กับเซลล์ macrophage อีกที
การทำงานของร่างกาย ต่อเบต้า-กลูแคน
เมื่อสาย a-Helix ซึ่งเป็นโครงสร้างสามมิติของเบต้ากลูแคนที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล ประมาณ 7 หน่วยเข้าไปจับที่ตัวรับบนผิวเซลล์
กระตุ้นเซลล์ macrophage ให้อยู่ในสภาวะตื่นตัวเพื่อทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อไป แต่ในภาวะปกติแล้วเซลล์ macrophage ส่วน ใหญ่ มักจะอยู่ในสภาวะสงบซึ่งหมายความว่า ระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ของร่างกายจะไม่ทำงานจนกว่าจะตรวจพบสิ่งแปลกปลอม จากภายนอกที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราหรือสารเคมี
หากร่างกายของเราได้รับเบต้า-กลูแคน อยู่เป็นประจำแล้ว เบต้า-กลูแคนเหล่านี้ก็จะคอยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ macrophage ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา
กระบวนการในการกระตุ้นเซลล์ macrophage ของเบต้ากลูแคน
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายและตรวจจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายของเซลล์ macrophage
2. ควบคุมการหลั่ง cytokines เช่น interleukins เพื่อกระตุ้นการสื่อสารระหว่างเซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน
3. กระตุ้นการหลั่ง colonystimulatingfactors เพื่อเพิ่มปริมาณการสร้างและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดขาว เช่น neutrophils และ eosinophils จากไขกระดูก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เซลล์ macrophage ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาสู่ร่างกายนั่นเอง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น